Welcome to my blogger. . .

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์


          ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) 


          ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์

ประเภทของโปรแกรมระบบ (System Software)

1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่
- Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ ความควบคุมของ Supervisor ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน Supervisor จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor อีกครั้ง
- โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่น ๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น

2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมี ลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
   
          2.1 MS - DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปีค.ศ. 1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command - line User Interface)


          2.2 Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็ก ๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11


          2.3 Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network)



          2.4 Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ

          2.5 Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Windows ME" ใน เวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น

          2.6 Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้าย กับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT ได้แก่ ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกัน สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์

          2.7 Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการ พัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language

          2.8 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition



          2.9 Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)

          2.10 OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย

          2.11 UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

          2.12 LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน



          2.13 Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce

3) ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ได้ดังนี้

          3.1 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand - alone เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานโดยไม่มี การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น LAN หรือ Internet ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า "Client Operating System"

          3.2 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมี คุณสมบัติพิเศษ คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง

          3.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล

          3.4 ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน

          3.5 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System) สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

          ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีอยู่มากมาย อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทางและซอฟต์แวร์สำเร็จ

1. ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง

          เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี
          โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้าและระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียวหรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
          ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน


2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย

3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต

4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์

2. ซอฟต์แวร์สำเร็จ

          เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้นและวางขายทั่วไป ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไป
          ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป ซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือ
1) ด้านการประมวลคำ
2) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือตารางทำงาน
3) ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล
4) ด้านกราฟิกและนำเสนอข้อมูล
5) ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกล
6) ด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะ
7) ด้านการลงทุนและจัดการการเงิน
8) ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
9) ด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจ


          เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น