Welcome to my blogger. . .

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

องค์ประกอบของระบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบคอมพิวเตอร์


1. หน่วยรับเข้า (input unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
4. หน่วยความจำรอง (secondary storage)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)



1. หน่วยรับเข้า (input unit)

หน่วยรับเข้าทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกหรือจากผู้ใช้เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อรอส่งข้อมูลไปประมวลผลที่หน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น

     1. อุปกรณ์แบบกด ยกตัวอย่างเช่น แผงแป้นอักขระ นิยมเรียกว่า คีย์บอร์ด ใช้พิมพ์คำสั่ง ข้อมูลเข้าไป

     2. อุปกรณ์รับเข้าแบบชี้ตำแหน่ง ที่เราคุ้นเคยกันก็คือ เมาส์

     3. อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา อุปกรณ์เหล่านี้จะมีรูปร่างเหมือนปากกา แต่มีแสงที่ปลาย ส่วนใหญ่จะไปใช้สำหรับงานกราฟิกที่ต้องการวาดรูปแผนผังงานออกแบบ เพราะจะสะดวกรวดเร็วขึ้น

     4. อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส หรือเรียกว่า ทัชสกรีน เป็นจอพิเศษ เป็นจอพิเศษโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือก จะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังโปรแกรมที่หน้าที่แปลคำสั่ง เพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน 

     5. อุปกรณ์กราดข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบวิเคราะห์แสง (Optical recognition system) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้าน้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้สำแสงกวาดผ่านข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ

     6. อุปกรณณ์รับข้อมูลเสียง อุปกรณืรับเสียง (audio-input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลงเเละเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าคอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้เเก่ ไมโครโฟน

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

    ตัวประมวลผลกลางหรือ ซีพียู (CPU) เป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีการพัฒนาผลิตวงจรหน่วยประมวลผลกลางไว้ในชิป เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ซึ่งจะทำการประมวลผลข้อมูลจากหน่วยความจำแล้วส่งผลไปยังหน่วยส่งออกต่อไป

3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

      หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน ทำหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อรอให้หน่วยประมวลผลกลางเรียกใช้ประมวลผล และเป็นที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผล แบ่งได้เป็น
     1. แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับการใช้งานทั่วไปหน่วยความจำประเภทนี้เก็บข้อมูลแบบชั่วคราวเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าจ่ายวรจร ถ้าขาดกระแสไฟฟ้าข้อมูลจะสูญหายทันที
     2. รอม (ROM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บโปรแกรมสำคัญซึ่งได้ถูกบันทึกมาก่อนจากบริษัทผลิต ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลแบบถาวร แม้จะเปิดเครื่องหรือขาดกระแสไฟฟ้า ข้อมูลหรือโปรแกรมก็ไม่สูญหายหรือถูกลบไป

4. หน่วยความจำรอง (secondary storage)

หน่วยความจำรอง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ยังไม่ต้องการประวลผลหรือข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้ต่อภายหลัง เมื่อต้องการประมวลผลข้อมูลจะถูกย้ายจากหน่วยความจำรองมาไว้ที่หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรองมีหลายประเภท เช่น ฟล็อปปีดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี เป็นต้น


5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งออกเรียกว่าอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล หน่วยแสดงผลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     
     1.หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่ 
จอภาพ (Monitor)  


อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) 


อุปกรณ์เสียง (Audio Output)

     2.หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่

เครื่องพิมพ์ (Printer)


เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น